King Naresuan - ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (Box set Collection 1-6)

คลิ้กเพื่อขยาย
 

แผนกสินค้า: DVD/VCD

สถานะ: Released List

UPC Code: 8858876745943

Street Date: 01 ตุลาคม 2020
วันที่จำหน่าย: 01 ตุลาคม 2020

ประเภท: Drama, War

คลังสินค้า: สินค้าหมด

ผู้ผลิต: -
ผู้จัดจำหน่าย: -

ราคาปก: ฿0.00

ราคาของคุณ: ฿599.00

ราคาน้ำหนักพิเศษ: 0.00 (?)

 

จำนวน:

 
ตำนานสมเด็จพระนเรศวร มหาราช 1 ตอน องค์ประกันหงสา พุทธศักราช 2106 พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง (สมภพ เบญจาทิกุล) ทรงกรีฑาทัพเข้าตีราชอาณาจักรอยุธยาทางด่านระแหงแขวงเมืองตาก ทัพพม่ารามัญซึ่งมีรี้พลเหลือคณานับได้เข้ายึดครองหัวเมืองฝ่ายเหนือของราชอาณาจักรอยุธยาอันมีเมืองพิษณุโลกเป็นประหนึ่งเมืองราชธานี ได้เป็นผลสำเร็จครั้งนั้น สมเด็จพระมหาธรรมราชา (ฉัตรชัย เปล่งพานิช) พระราชบิดาของสมเด็จพระนเรศวรหรือพระองค์ดำ (ปรัชฌา สนั่นวัฒนานนท์) ซึ่งเป็นเจ้าแผ่นดินครองเมืองพิษณุโลก จำต้องยอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้าบุเรงนองเพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิตอาณาประชาราษฎร์มิให้ต้องมีภยันตราย และจำต้องยอมร่วมกระบวนทัพพม่าเข้าตีกรุงศรีอยุธยาศึกครั้งนั้นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (ศรัณยู วงษ์กระจ่าง) เจ้าแผ่นดินอยุธยาทรงยอมเจรจาหย่าศึกกับพม่ารามัญ และยอมถวายช้างเผือก 4 เชือก ทั้งให้สมเด็จพระราเมศวรราชโอรส โดยเสด็จพระเจ้าบุเรงนองไปประทับยังนครหงสาวดีตามพระประสงค์ของกษัตริย์พม่า ข้างสมเด็จพระมหาธรรมราชาซึ่งได้ยอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้าบุเรงนอง ก็ได้ถวายสมเด็จพระนเรศวรราชโอรสองค์โตให้ไปเป็นองค์ประกัน ประทับยังหงสาประเทศเฉกเช่นกัน กาลครั้งนั้นพระองค์ทรงมีพระชนมายุได้เพียง 9 ชันษา สมเด็จพระนเรศวรทรงเป็นที่รักใคร่ของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ประดุจพระราชบุตรร่วมสาย สันตติวงศ์ ด้วยองค์ยุพราชอยุธยา ทรงมีพระปรีชาสามารถด้านพิชัยยุทธ ทั้งยังองอาจกล้าหาญสบพระทัยกษัตริย์พม่าซึ่งก็ทรงเป็นนักการทหาร นิยมผู้มีคุณสมบัติ เป็นนักรบเยี่ยงพระองค์ พระเจ้าบุเรงนองทรงมีสายพระเนตรยาวไกล แลเห็นว่าสืบไปเบื้องหน้าสมเด็จพระนเรศวรจะได้ขึ้นเป็นใหญ่ในอุษาคเนย์ประเทศ จึงทรงคิดใคร่ปลูกฝังให้สมเด็จพระนเรศวรผูกพระทัยรักแผ่นดินหงสา เพื่อจะได้อาศัยพระองค์เป็นผู้สืบอำนาจอุปถัมภ์ค้ำชูราชอาณาจักร ซึ่งพระองค์ทรงสถาปนาขึ้นด้วยความยากลำบาก พระเจ้าบุเรงนองทรงโปรดให้พระมหาเถรคันฉ่อง (สรพงษ์ ชาตรี) พระรามัญผู้มากด้วยวิทยาคุณและเจนจบในตำราพิชัยสงคราม เป็นพระอาจารย์ถ่ายทอดศิลปวิทยาการแก่ตำนานสมเด็จพระนเรศวร นับแต่เริ่มเข้าประทับในหงสานคร ยังผลให้ยุพราชอยุธยาเชี่ยว ชาญการยุทธ กลช้าง กลม้า กลศึก ทั้งข้างอยุธยาและข้างพม่ารามัญ หาผู้เสมอเหมือนมิได้ เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าพระเจ้าบุเรงนองนั้นหาได้วางพระทัยในพระราชโอรส คือ มังเอิน หรือ พระเจ้านันทบุเรง (จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์) และพระราชนัดดา มังสามเกียด ถึงแม้ทั้งสองพระองค์จะทรงเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขโดยตรง ด้วยทรงเล็งเห็นว่าราชนิกุลทั้งสองพระองค์นั้น หาได้เป็นผู้ทรงคุณธรรมอันจะน้อมนำเป็นพื้นฐานให้เติบใหญ่เป็นบูรพกษัตริย์ปกป้องครองแผ่นดิน ที่พระองค์ทรงสร้างและทำนุ บำรุงมาด้วยกำลังสติปัญญาและความรักใคร่หวงแหน เหตุทั้งนี้เป็นชนวนให้พระเจ้านันทบุเรงและราชโอรสมังสามเกียดขัดพระทัย ทั้งผูกจิตริษยาสมเด็จพระนเรศวรซึ่งเป็นที่โปรดปราน ของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองกว่าราชนิกุลข้างพม่าทั้งหลายทั้งสิ้น เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงหยั่งรู้ว่าพระอัจฉริยภาพที่ทรงมีเหนือ พระยุพราชของหงสาวดี กำลังชักนำภยันตรายมา พระองค์จึงทรงเสี่ยงภัยเดินทางจากพุกามประเทศสู่มาตุภูมิ อโยธยา

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 2:ตอน ประกาศอิสระภาพ หลังจากพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง (สมภพ เบญจาทิกุล) สิ้นพระชนม์ในปีพุทธศักราช 2124 พระเจ้านันทบุเรง (จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์) ได้ขึ้นเสวยราชสืบต่อ และได้สถาปนามังสามเกียดขึ้นเป็นรัชทายาทครองตำแหน่งมหาอุปราชาแห่งราช อาณาจักรหงสาวดี เมื่อแผ่นดินหงสามีอันต้องผลัดมือมาอยู่ในปกครองของพระเจ้านันทบุเรง สัมพันธไมตรีระหว่างอยุธยาและหงสาวดีก็เริ่มสั่นคลอน ด้วยพระเจ้าหงสาวดีพระองค์ใหม่มิได้วางพระทัยในสมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระนเรศวร (พ.ต.วันชนะ สวัสดี) เองก็หาได้เคารพยำเกรงในบุญบารมีของพระเจ้าแผ่นดินพม่ารามัญเช่นกาลก่อนมิ เพียงเท่านั้น สมเด็จพระนเรศวรยังได้ทรงแสดงพระ ปรีชาสามารถให้เป็นที่ปรากฏครั่นคร้าม ดังคราวนำกำลังทำยุทธนาวีกับพระยาจีนจันตุและศึกเมืองคังเป็นอาทิ พระเจ้านันทบุเรงทรง เกรงว่าสืบไปเบื้องหน้าสมเด็จพระนเรศวรจะเป็นภัยต่อพระ ราชวงศ์แลแผ่นดินหงสา จึงหาเหตุวางกลศึกหมายจะปลงพระชนม์สมเด็จ พระนเรศวรเสียที่เมืองแครงแต่พระ มหาเถรคันฉ่องพระราชครูลอบนำแผนประทุษร้ายนั้นมาแจ้งให้ศิษย์รักได้รู้ความ สมเด็จพระนเรศวร จึงถือเป็นเหตุประกาศเอกราช ตัดสัมพันธไมตรีกับหงสาวดี แลกวาดต้อนครัวมอญไทยข้ามแม่น้ำสะโตงกลับคืนพระนคร

ตำนานสมเด็จพระนเรศวร มหาราช 3: ตอน ยุทธนาวี ในปีพุทธศักราช 2127 การประกาศเอกราชที่เมืองแครง ทำให้พระเจ้านันทบุเรงแห่งพม่าเกิดความประหวั่นพรั่นพรึงว่า อยุธยาในฐานะประเทศราชในขณะนั้นทำการเยี่ยงนี้อาจเป็นชนวนให้ประเทศราชอื่นๆ ตั้งตัวกระด้างกระเดื่องตาม แต่ด้วยติดศึกอังวะ จึงส่งเพียงพระยาพะสิมและพระเจ้าเชียงใหม่เข้าประชิดกรุงศรีอยุธยา ขณะเดียวกัน เจ้ากรุงละแวกทางตะวันออกของอยุธยา ได้ทราบกิตติศัพท์ของตำนานสมเด็จพระนเรศวร มหาราช 3 จึงส่งพระศรีสุพรรณราชาธิราชผู้อนุชามาช่วยทำศึกกับพม่าด้วย พระนเรศวรและกองทัพของพระองค์ได้วางแผนยุทธนาวีในการแยกสายเข้าตีทัพของพม่านั้นโดย แข่งกับเวลา หากช้าไปอยุธยาอาจแตกพ่ายก็เป็นได้ นอกจากนี้ยังมีศึกรักระหว่างรบของคนสี่คน คือ พระราชมนู เลอขิ่น เสือหาญฟ้า และรัตนาวดี รวมถึงสถานะของพระสุพรรณกัลยาที่อาจต้องเป็นบาทบริจาริกาของพระเจ้านันทบุเรง ผู้ราชบุตรแห่งพระเจ้าบุเรงนองอดีตสวามีอีกด้วย

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชภาค 6 ตอน อวสานหงสา ในปี พ.ศ. 2135 หลังพ่ายศึกยุทธหัตถี พระเจ้านันทบุเรงระบายพระโทสะที่สูญเสียราชบุตรอุปราชแห่งหงสาไปที่พระนางสุพรรณกัลยาและพระราชโอรสธิดาจนสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระนเรศวรจึงนำทัพชัยหมายแก้แค้นแทนพระพี่นางและเหยียบหงสาวดีให้ราบเป็นหน้ากลอง ฝ่ายพระเจ้านันทบุเรงเมื่ออับจนหนทางจึงยอมให้นัดจินหน่องราชบุตรแห่ง เจ้าเมืองตองอูพาพระองค์พร้อมกวาดต้อนทรัพย์สินและผู้คนจากหงสาไปไว้ยังตองอูจนหมดสิ้น ครั้นสมเด็จพระนเรศวรเสด็จถึงเมือง หงสาวดีก็กลายเป็นเมืองร้างไปเสียแล้ว ศึกครั้งนี้สมเด็จพระนเรศวรจึงต้องยกทัพตามต่อตีไปยังตองอู แม้จะได้รับคำทัดทานจากพระมหาเถรและพระมเหสีมณีจันทร์ เพื่อหมายสังหารพระเจ้านันทบุเรงให้จงได้ ผลสรุปแห่งมหาสงคราม 2 แผ่นดินจะจบลงเยี่ยงไร และใครจะเป็นผู้มีชัยเหนือสมรภูมินี้ การศึกครั้งสุดท้ายของสหายร่วมรบแห่งอโยธยา ใน ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อวสานหงสา

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 4: ศึกนันทบุเรง เรื่องราวอันเป็นผลจากการปราชัยของหงสาวดีในคราวศึกพระยาพะสิมและพระเจ้าเชียงใหม่ ซึ่งทำให้พระเจ้านันทบุเรง (จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์) ทรงตระหนักในพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระนเรศวร (พ.ท. วันชนะ สวัสดี) และในความเข้มแข็งของกองทัพอยุธยา จึงทรงยกทัพใหญ่เป็นทัพกษัตริย์มาย่ำยีราชธานีสยามหวังให้ราบเป็นหน้ากลอง เพื่อเป็นการแก้มือและเพื่อรักษาซึ่งพระเกียรติยศ มิให้เป็นที่ดูแคลนแก่เหล่าเจ้าประเทศราชในการปกครองของฝ่ายพม่า กองทัพกษัตริย์ของพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงมีความสมบูรณ์ยิ่งใหญ่น่าเกรงขามกว่าทุกศึก ประกอบด้วยช้าง ทัพม้า และไพร่ราบ โดยมีนายทัพผู้ปรีชาสามารถมาร่วมรบ ทั้งพระมหาอุปราชา (นภัสกร มิตรเอม) มังจาปะโร (ชลัฏ ณ สงขลา) และลักไวทำมู (สมชาติ ประชาไทย) ทหารกล้า กิตติศัพท์ความยิ่งใหญ่น่าเกรงขามของทัพหงสาวดีที่ยกเข้ามานี้ ส่งผลให้เจ้าเมืองในขอบขัณฑสีมา ของราชอาณาจักรอยุธยาข้างฝ่ายเหนือประหวั่นพรั่นพรึง ถึงกับสมคบคิดกันแปรพักตร์เข้าสมานสมัครพระเจ้านันทบุเรงรบสมเด็จพระนเรศวร เป็นเหตุให้สมเด็จพระนเรศวรต้องเผชิญทั้งศึกนอกและศึกใน สถานการณ์กลับยิ่งบีบคั้นให้คับขันยิ่งขึ้น เมื่อพระศรีสุพรรณธรรมาธิราช (ดิลก ทองวัฒนา) พระอนุชาเจ้ากรุงละแวกซึ่งขัดพระทัยสมเด็จพระนเรศวรแต่กาลก่อน ได้ยุยงให้พระเชษฐาตัดสัมพันธไมตรีกับอยุธยา ละแวกจึงกลายเป็นหอกข้างแคร่ที่พร้อมจะกระหน่ำซ้ำเติมสยามให้ย่อยยับหากมีอันพลาดท่าเสียทีในศึกนันทบุเรงนี้

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 5 ยุทธหัตถี ในปีพ.ศ. 2129 พระเจ้านันทบุเรงทรงแค้นเคืองที่ต้องปราชัยต่อสมเด็จพระนเรศฯอย่างย่อยยับ ทั้งต้องเสียไพร่พลและพระสิริโฉม จ ึงระบายความแค้นนั้นไปที่องค์พระสุพรรณกัลยา เมื่อสมเด็จพระมหาธรรมราชาพระราชบิดาทราบความก็ให้โทมนัสด้วยสำนึกว่าชะตากรรมของพระราชธิดา และแผ่นดินอยุธยาที่ถูกกระทำการย่ำยีก็ด้วยเพราะพระองค์ทรงแปรพักตร์ไปเข้าข้างศัตรู จนตรอมพระทัยเสด็จสวรรคต สมเด็จพระนเรศฯจึงเสด็จขึ้นเสวย ราชสมบัติครองกรุงศรีอยุธยาสืบต่อจากพระราชบิดา ข่าวการผลัดแผ่นดินของอยุธยารู้ไปถึงพระเจ้านันทบุเรง พระองค์สำคัญว่าราชอาณาจักรสยามจะ ไม่เป็นปกติสุขเป็นช่องชวนชิงเชิง จึงโปรดให้มังสามเกียดอุปราชเจ้าวังหน้ากรีฑาทัพไปตีกรุงศรีอยุธยาอีกคำรบ ข้างสมเด็จพระนเรศฯทรงโปรดให้พระราชมนูแต่ง พลเป็นทัพหน้าขึ้นไปดูกำลังข้าศึกถึงหนองสาหร่าย ทัพหน้าพระราชมนูปะทะเข้ากับทัพพม่าถึงขั้นตะลุมบอน แต่กำลังข้างพระราชมนูน้อยกว่าจึงแตกพ่ายถอยลง มาเป็นอลหม่าน สมเด็จพระนเรศฯทราบความจึงออกอุบายให้ทัพข้าศึกไล่เตลิดลงมาจนเสียกระบวนแล้วจึงทรงนำกำลังออกยอทัพข้าศึก ครั้งนั้นช้างทรงของ สมเด็จพระนเรศฯ นามเจ้าพระยาไชยานุภาพ และช้างทรงของสมเด็จพระเอกาทศรถคือเจ้าพระยาปราบไตรจักรต่างตกน้ำมัน วิ่งร่าเบกพลฝ่าเข้าไปในทัพพม่ารามัญ กลางวงล้อมข้าศึกและหยุดอยู่หน้าช้างพระมหาอุปราชา สมเด็จพระนเรศฯ จึงประกาศท้าพระมหาอุปราชแห่งหงสาให้ออกกระทำยุทธหัตถีเป็นพระเกียรติยศแก่แผ่นดิน ด ้วยขัตติยมานะพระมหาอุปราชาก็ไสพระคชาธารออกทำคชยุทธด้วยสมเด็จพระนเรศฯ ขณะที่มังจาปะโร พระพี่เลี้ยงองค์สมเด็จพระมหาอุปราชได้ออกทำยุทธหัตถีกับ สมเด็จพระเอกาทศรถสัประยุทธ์กันเป็นสองคู่ สู่มหาศึกคชยุทธ์ที่มีแผ่นดินเป็นเดิมพัน

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชภาค 6 ตอน อวสานหงสา ในปี พ.ศ. 2135 หลังพ่ายศึกยุทธหัตถี พระเจ้านันทบุเรงระบายพระโทสะที่สูญเสียราชบุตรอุปราชแห่งหงสาไปที่พระนางสุพรรณกัลยาและพระราชโอรสธิดาจนสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระนเรศวรจึงนำทัพชัยหมายแก้แค้นแทนพระพี่นางและเหยียบหงสาวดีให้ราบเป็นหน้ากลอง ฝ่ายพระเจ้านันทบุเรงเมื่ออับจนหนทางจึงยอมให้นัดจินหน่องราชบุตรแห่ง เจ้าเมืองตองอูพาพระองค์พร้อมกวาดต้อนทรัพย์สินและผู้คนจากหงสาไปไว้ยังตองอูจนหมดสิ้น ครั้นสมเด็จพระนเรศวรเสด็จถึงเมือง หงสาวดีก็กลายเป็นเมืองร้างไปเสียแล้ว ศึกครั้งนี้สมเด็จพระนเรศวรจึงต้องยกทัพตามต่อตีไปยังตองอู แม้จะได้รับคำทัดทานจากพระมหาเถรและพระมเหสีมณีจันทร์ เพื่อหมายสังหารพระเจ้านันทบุเรงให้จงได้ ผลสรุปแห่งมหาสงคราม 2 แผ่นดินจะจบลงเยี่ยงไร และใครจะเป็นผู้มีชัยเหนือสมรภูมินี้ การศึกครั้งสุดท้ายของสหายร่วมรบแห่งอโยธยา ใน ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อวสานหงสา

ปีที่ผลิต: 2020

ระยะเวลา: 0 นาที

จำนวนแผ่น: 6

Rated: PG-13

คำบรรยาย:

-

ระบบภาพ:

Anamorphic Widescreen 16 : 9

ระบบเสียง:

Thai

นักแสดงและทีมงาน:

-

ผู้กำกับ:

-
 

สินค้าแนะนำ